จะเรียนดีได้อย่างไร


จะเรียนดีได้อย่างไร
เงื่อนไขและสภาพแวดล้อมที่จะทำให้เรียนได้ดีที่สุด
ก.จะเรียนที่ไหนดี
1.ที่บ้าน
คุณจะเรียนได้ดีที่สุดคือห้องของคุณเอง  เพราะหนังสือตำรับตำราและเครื่องเขียนต่างๆอยู่ใกล้มือคุณที่สุด  และในไม่ช้า  (คือไม่นานเกินรอ)สมาธิของคุณจะค่อยๆเกิดขึ้น  และคุณจะเริ่มชินกะการเรียนในห้องส่วนตัวของคุณ  ที่มุมใดมุมหนึ่งข้างเตียงนอน  โรงรถ  หรือโรงเก็บของก็สามารถใช้เป็นที่เรียนได้  โดยสรุปแล้ว  ที่ใดก็ตามที่ปราศจากเสียงรบกวนและสิ่งที่จะทำให้สมาธิของคุณวอกแวกวอแว  ที่นั่นเป็นที่เรียนที่ดีที่สุดของคุณได้  (และแน่นอนถ้าคุณมีความตั้งใจจริง)
2.ในห้องสมุด
นักเรียนบางคนชอบใช้ห้องสมุดซึ่งอยู่ใกล้บ้านเป็นที่อ่านหนังสือทบทวนตำรา  แต่ถ้าคุณไปที่นั่นแล้วกลับถูกรบกวนโดยนักเรียนบางคนที่เข้าใจผิดคิดว่าห้องสมุดเป็นห้องนัดพบแบบรายการ  “นัดบอด”  “ใกล้ชิด”  หรือทายปัญหาแบบ
“20คำถาม”แล้วล่ะก็  ขอแนะนำทางที่ดีที่สุดคุณควรนอนอ่านหนังสืออยู่กับบ้านดีกว่า  อย่างไรก็ดี   ถ้าคุณไปพบสภาพแวดล้อมชนิดนั้นในห้องสมุดบ่อยๆไม่ช้าคุณก็จะ  “ชินไปเอง”  (และเผลอๆอาจชอบและกลายเป็นสมาชิกคนหนึ่งในกลุ่มใดกลุ่มหนึ่งหรือทุกกลุ่มก็ได้)  อย่างไรก็ตาม  อย่าลืมว่าคุณไปที่นั่นเพื่อ  “เรียนให้ดี”  และถ้าคุณท่องคาถาบทนี้ไว้ข่มใจให้ได้การไปนั่งทำงานในห้องสมุดท่ามกลางสมาชิกดังกล่าวก็ไม่ใช่เรื่องยาก  เว้นแต่คุณจะทำให้ยากเอง
ข.สิ่งรบกวนสมาธิ
เสียงอึกทึกครึกโครมต่างๆไม่ค่อยมีความหมายในขณะที่เราทำงานโดยใช้กำลังกาย  แต่จะกลายเป็นเสียงหนวกหูที่น่าปวดหัว  เมื่อเรากำลังตั้งสมาธิหรือท่องงตำรา  พยายามหลีกเลี่ยงจากเสียงกวนประสาท  (ทั้งห้าหรือทั้งหก)   ทั้งหลายตลอดจนปิดประตูหน้าต่างตลอดจนรูดม่าน  (ถ้ามี)  ให้มิดชิด  เพื่อไม่ให้เสียงที่น่ารังเกียจเหล่านั้นรอดเข้ามาเข้ารูหู  และเจาะลึกเข้าไปทำลายสมาธิเรา 
บางคนอาจใช้วิธีหนามยออกเอาหนามบ่ง  โดยการเปิดวิทยุให้มีเสียงไพเราะแว่วมาพอได้ยินแต่เบาๆ  แต่ อย่าลืมว่าเสียงทุกชนิด  รวมทั้งเพลงไพเราะนั้นสามารถรบกวนความเป็นผู้คงแก่เรียนของคุณได้ถ้าคุณมัวแต่รู้สึกโรแมนติก  (ทับศัพท์จาก  Romantic)  กับเสียงเพลงหรือโมโหจนหนวด  (ปลอม)  กระดิก  มือไม้สั่นเพราะเสียงรบกวนนั้น  จนไม่เป็นอันทำงาน  หรือพยายามทำแล้วแต่ก็ไม่สามารถทำให้สำเร็จเป็นชิ้นเป็นอันตามที่ตั้งใจขอแนะนำด้วยความปรารถนาดีสุดหัวใจว่าคุณควรหลีกเลี่ยงการพูดคุย  (ไม่ว่าจะมีสาระหรือไม่ในขณะนั้น)  รายการโทรทัศน์  วิทยุ  หรือเพลงฮิต  ปีอปปูลาร์สุดโปรด  ไม่ว่าจะติดอันดับใดๆ ในขณะนั้นโดยเด็ดขาด
การเรียนที่บ้าน
1.เฟอร์นิเจอร์
โต๊ะ   โต๊ะที่ใช้เขียนหนังสือควรเป็นโต๊ะที่หน้าเรียบ  (ไม่มีสิวฝ้าใดๆ)  หรือควรเอียงลาดเล็กน้อย  (คล้ายๆ  โต๊ะทำงานของพวกสถาปนิก)  มีขนาดกว้างพอสำหรับตั้งหรือวางหนังสืออ้างอิงและสมุดโน้ต  ถ้าคุณนั่งตัวตรงศอกทั้งสองข้าง  (มิใช่เข่า)  ของคุณควรอยู่ในระดับเดียวกันกับหน้าโต๊ะ
เก้าอี้  ไม่ควรใช้เก้าอี้นุ่มเกินไป  (เพราะจะชวนให้หน้าหลับยิ่งขึ้น)  แต่ควรใช้เก้าอี้ที่จะช่วยให้คุณนั่งตัวตรงได้อย่างสบายๆเก้าอี้ที่เหมาะสมนั้นเมื่อคุณลองนั่งตัวตรงแล้ว  คุณจะสามารถวางเท้าทั้งสองข้างลงบนพื้นได้พอดี  และขอเตือนว่าการนอนอ่านหนังสือบนเตียงนอน  หรือนอนเอกเขนกบนเก้าอี้สำหรับนั่งหรือนอนเล่นไม่เป็นวิธีที่ดีและได้ผล
2.แสงว่าง
ไม่ควรใช้แสงไฟที่ส่องโดยตรงมาที่โต๊ะ  แต่ควรใช้แสงไฟซึ่งส่องทั่วห้องซึ่งไม่ให้แสงสว่างที่จ้าจนแสบตาหรือเกิดเงา  ทางที่ดีควรใช้แสงสว่างจากหลอดไฟฟ้าซึ่งติดไว้บนเพดานห้อง  และจะดีกว่านั้นถ้าจะใช้ดวงไฟตั้งโต๊ะอีกดวงหนึ่งช่วยด้วยเพื่อให้แสงสว่างจากห้องไม่จ้าจนเกินไป  และทำให้เกิดแสงที่นวลตาเหมาะแก่การอ่านหนังสือยิ่งขึ้น  ดวงไฟตั้งโต๊ะที่มีขาตั้งยาวและเคลื่อนไหวในทิศต่างๆได้ตามต้องการ  นับเป็นอุปกรณ์ที่มีประโยชน์ที่สุด
แสงสว่างที่ส่องอย่างทั่วถึงในบริเวณที่คุณทำงาน  จะทำให้สายตาคุณไม่เมื่อยล้าง่าย  เพราะต้องคอยปรับสายตาให้เข้ากับแสงที่ทำให้มีระดับความสว่างต่างกัน  ปกติแล้วหลอดไฟขนาด  60  วัตต์    หรือ หลอดฟลูออเรสเซนต์  ขนาด 20  วัตต์  จะให้แสงสว่างได้เพียงพอ  เมื่อนำมาใช้กับโคมไฟตั้งโต๊ะ  ส่วนหลอดไฟที่ใช้เพดานห้องควรใช้ขนาด  150  วัตต์  สำหรับไฟฟ้าธรรมดา  และ  40  วัตต์  ถ้าเป็นหลอดไฟแบบนีออน
3.  ความร้อนและการถ่ายเทของอากาศ
    ถ้าได้ที่ที่มีอากาศสดชื่นเหมือนยืนอยู่บนเนินเขาและมีลมเย็นๆพัดมาเบาๆ  จะเยี่ยมที่สุด  ถ้าคุณไม่มัวแต่เคลิ้มบรรยากาศนั้นจนหลับไปเสียก่อน)  ถ้าหาที่ดังที่จินตนาการไว้ไม่ได้  ก็หันมาใช้พัดลมเครื่องเล็กๆ  ปัดความร้อนแทน  ส่วนผู้เรียนที่อยู่ในประเทศซึ่งอากาศหนาวเย็น  ก็ใช้เครื่องทำความร้อนให้ความอบอุ่นแทน  ทั้งนี้เพื่อปัดเป่าบรรยากาศและคำแก้ตัวดังพุทธวัจนะที่ว่า  “หนาวนัก แล้วก็ไม่ทำงาน”  หรือ  “ร้อนนักก็ไม่ทำงาน”  นั้นแล
จะวางแผนการเรียนอย่างไร
    เป็นเรื่องง่ายมากที่นักเรียนมักจะเสียเวลาที่มีค่ายิ่งไปกับการเสียเวลาคิด  (อย่างหนัก)  ว่าจะต้องทำรายงานหรือกิจกรรมอะไรบ้าง  และงานชิ้นไหนที่ควรทำก่อน  เชื่อเถิดว่า  ถ้าคุณเพียงแต่จัดตารางการเรียน  แบ่งเวลาการเรียนและกิจกรรมต่างๆ ให้เหมาะสม  ตั้งแต่ต้นปี  คุณจะหาคำตอบให้กับตัวคุณเองได้ว่าควรทำอะไรและทำเมื่อไร
คุณต้องตั้งเป้าหมายที่จะตั้งใจเรียนอย่างสม่ำเสมอตั้งแต่ต้นปี  และพยายามหลีกเลี่ยงวิธีดองหนังสือไว้  “ท่องแบบลุยดะ”  ในเวลาไม่กี่สัปดาห์สุดท้ายก่อนสอบ  กล่าวโดยทั่วไป  คุณควรแบ่งการเรียนและกิจกรรมที่สำคัญๆเป็นส่วนๆ  พร้อมกับตั้งเป้าหมายที่ที่แน่นอนไว้ในแต่ละเทอม  แต่ละเดือนและ แต่ละสัปดาห์
ก.       เวลา
ลองใคร่ครวญดูให้ดีว่าคุณจะมีเวลาในการศึกษาอย่างแท้จริงเท่าไรอย่ากะเวลาให้มากหรือน้อยเกินไป  และถ้าคุณไม่สามารถบังคับตัวเองให้ทำตามตารางที่คุณตั้งไว้แล้ว  ผลที่ตามมาคือความหายนะ  (หรือจะพูดให้น่าฟัง  ก็อาจแปลงเป็น  หาย  “มานะ”  )  เพราะเมื่อคุณไม่ทำตามตารางครั้งหนึ่งแล้ว  ครั้งต่อไปคุณจะยิ่งไม่ทำตามขึ้นเรื่อยๆ  (จริงมั๊ย?
โดยทั่วไปนักเรียนมัธยม  (ในประเทศออสเตรเลีย  ผู้ถอดความ)  เรียนกันวันละประมาณห้าชั่วโมง  สำหรับผู้เรียนมัธยมศึกษาตอนต้นควรหาเวลาศึกษาเพิ่มเติม  หรือทบทวนบทเรียนอีกวันละประมาณสองชั่วโมง  และอีกประมาณสี่ชั่วโมงสำหรับมัธยมปลาย
นักเรียนบางคนมีสมาธิดีในตอนเช้า  ส่วนบางคนกลับมีสมาธิดีในตอนเย็น  คุณควรทดลองดูว่าช่วงเวลาไหนที่เหมาะกับคุณที่สุด  (ห้ามตอบว่าไม่มีเวลาเลย)  ปกติแล้วสมองของคนเราจะลดความกระปรี้กระเปร่าลงหลังเวลา  22.30  น.  และโดยเฉพาะเวลาหลังเที่ยงคืน  (คือประมาณ  24.30 น.)  แม้แต่นักเรียนที่เก่งที่สุดก็จะสามารถจำสิ่งที่ตนอ่านได้เพียง  25%เท่านั้น  การอ่านหนังสือดึกเกินไปจะมีผลเสีย  คือทำให้คุณเหน็ดเหนื่อย  ง่วงหงาวหาวนอนในเช้าวันรุ่งขึ้น  และทำให้คุณเรียนได้ไม่ดีเท่าที่ควร
ข.        วิชาต่างๆ   บางวิชาอาจเข้าใจยากกว่าวิชาทั่วไป  ดังนั้นคุณจำเป็นต้องเอาใจใส่ใช้เวลาศึกษาวิชาดังกล่าวมากกว่าวิชาอื่นที่เข้าใจได้ง่ายกว่า  เวลาที่คุณใช้ไปจริงๆ  ในแต่ละวิชาขึ้นอยู่กับพื้นฐานความรู้  และความสนใจของคุณเอง  เมื่อคุณได้ตกลงใจแล้วว่าคุณจะใช้เวลาเท่าไรในแต่ละสัปดาห์  กับแต่ละวิชา  คุณต้องกำหนดลงไปให้แน่ชัดและถูกต้องลงในตารางเวลา  ตารางที่ว่านี้ส่วนหนึ่งจะขึ้นกับแต่ละวิชา  คุณต้องกำหนดลงไปให้แน่ชัดและถูกต้องลงในตารางเวลา  ตารางที่ว่านี้ส่วนหนึ่งจะขึ้นกับว่าวิชาที่จะต้องเรียนในวันรุ่งขึ้น  คือวิชาอะไรบ้างแต่คุณก็ควรพิจารณาดูปัจจัยแวดล้อมอื่นๆ  ประกอบด้วย
 1.วิชาที่เข้าใจยาก  
           คณควรใช้เวลาศึกษาวิชาที่เข้าใจยากที่สุดเสียก่อนในขณะที่ความคิดยังปลอดโปร่ง  นอกจากนี้วิชาอื่นๆ  ที่คุณจัดอยู่ในพวก  “ไม่ค่อยน่าเรียน”  ก็ควรเป็นวิชาแรกๆที่ต้องกำหนดไว้ในตารางเวลา  (อย่าเพิ่งร้อง  ยี้....เพราะมันจะให้ผลดีแก่คุณในภายหลังแม้จะต้องทนขมขื่นสักหน่อยก็ตาม”
2.ควรใช้เวลาศึกษาบ่อยเพียงไร  ?
ตอบแบบกำปั้น  (หรือใช้ค้อนแทนก็ได้)  ทุบดินก็คือ  ยิ่งคุณศึกษาวิชานั้นบ่อยเพียงไร  คุณจะยิ่งเรียนวิชานั้นได้ดี  ตัวอย่างเช่น  ถ้าคุณต้องเรียนวิชาประวัติศาสตร์เป็นเวลา  2.30  ชั่วโมงต่อสัปดาห์  วิธีที่จะได้ผลเร็วที่สุดคือ   คุณใช้เวลาเรียน  2.30  ชั่วโมงติดต่อกันรวดเดียว  ส่วนวิธีที่ดีกว่านี้ก็คือ  คุณอาจใช้เวลา  00.30  ชั่วโมงวันจันทร์  1  ชั่วโมงในวันพุธ  และอีก  1  ชั่วโมงในวันศุกร์  ในระหว่างช่วงเวลาที่คุณหยุดพักไปในแต่ละวันความคิดและความจำของคุณเกี่ยวกับวิชาที่คุณศึกษาไปแล้วจะยังคงอยู่  แม้คุณอาจไม่รู้ก็ตาม
3.การสับเปลี่ยนวิชา
                คุณควรสับเปลี่ยนและเลือกเรียน  หรือวิชาที่ง่ายและยากสลับกันไป  และควรเลือกวิชาที่มีพื้นฐานแตกต่างกันบ้าง  ทั้งนี้เพราะความแตกต่างของวิชาดังกล่าวจะช่วยในการเรียนรู้  และช่วยให้หายเบื่อหน่ายหรือเซ็งได้
เช่น
1       ชั่วโมง  เลือกเรียนหรือทบทวนวิชาคณิตศาสตร์
1  ชั่วโมง        “          “         “        วิชาภาษาอังกฤษ
1  ชั่วโมง    “          “                       วิชาเคมี
4.เวลาที่ใช้ในการเรียนหรือทบทวนแต่ละวิชา
ยกเว้นเวลาที่คุณจะต้องตระเตรียมการบ้านหรือรายงานที่ไดรับมอบหมายจากอาจารย์หรือครูผู้สอน  ซึ่งต้องใช้เวลาจำนวนมาก  เวลาที่เหมาะสมที่ควรใช้ในการศึกษาหรือทบทวนแต่ละวิชามีดังนี้  คือ
มัธยมต้น    00.30  ชั่วโมง
มัธยมปลาย   00.45  ชั่วโมง
เตรียมอุดม    1   ชั่วโมง
5.การทบทวนวิชาต่างๆ
คุณควรทบทวนบทเรียนทันที  (ถ้าเป็นไปได้)  หลังจากได้เรียนในชั้นแล้ว  และ  (ถ้าเป็นไปได้อีกเช่นกัน)  ควรเป็นวันเดียวกับที่เรียนในชั้นเลยจะยิ่งดี   คุณควรกำหนดเวลาทบทวนลงไปในตารางเวลาให้เร็วที่สุดเท่าที่จะทำได้
6.  การ  “อุ่นเครื่อง”
คุณควรเตรียมเวลาไว้สำหรับทั้งการ  “อุ่นเครื่อง”  ก่อนทำงาน  และ  “เบาเครื่อง”  อย่าให้ถึงกับ  “ดับเครื่อง”  ล่ะ)  หลังทำงาน  โดยทั่วไปมักต้องใช้เวลาประมาณ  10 – 15  6204  ก่อนที่คุณจะเกิด  “อารมณ์”  หรือที่เรียกว่า  “มีมู้ด”  (mood
        ในการศึกษาหรือทบทวนแต่ละวิชา    คุณจะไม่สามารถทำงานได้ผลดีที่สุด  หรือไม่สามารถมีสมาธิอย่างเต็มที่ในไม่กี่นาทีแรกเมื่อคุณเริ่มทำงาน  ในทำนองเดียวกันคุณต้อง  “พักเครื่อง”  หลังจากได้ศึกษาทบทวนมาอย่างหนักแล้ว  และควรใช้เวลาประมาณ  15  นาที  เปลี่ยนไปทำงานอื่นที่เบาสมอง  หรือทำกิจกรรมที่ช่วยให้คุณรู้สึกผ่อนคลาย  โดยเฉพาะอย่างยิ่งก่อนที่คุณจะเข้านอน
7.  การหยุดพักผ่อน
        คุณควรใช้เวลาหยุดพักสายตาและสมองสัก  5  นาที  หลังจากได้ศึกษาตำราแล้วครึ่งชั่วโมง  หรือพักสัก  10  นาที  หลังจากทำงานติดต่อกันเป็นเวลาหนึ่งชั่วโมง  เพื่อให้สมองแจ่มใสขึ้น  สิ่งที่ควรทำขณะพัก  (ซึ่งความจริงไม่ต้องบอกคุณก็ทราบอยู่แล้ว)   เช่น  ออกกำลังกายอย่างเบาๆ  เดินเล่นหรือ อ่านหนังสือพิมพ์   และคุณไม่ควรคิดว่าการทำเช่นนี้เป็นการเสียเวลาโดยเปล่าประโยชน์    ที่จริงแล้วกิจกรรมเหล่านี้กลับทำให้คุณเรียนดีอย่างไม่น่าเชื่อ
8.  เวลาว่าง
        กิจกรรมต่างๆ  ที่คุณควรมีส่วนร่วมมีมากมาย  เช่น  การเล่นกีฬา  การออกกำลังกาย  การทำงานอดิเรก  ชมภาพยนตร์  ฟังดนตรี  ดูโทรทัศน์  ฟังวิทยุ   อ่านหนังสือ  และออกงานสังคมเป็นต้น  กิจกรรมเหล่านี้ไม่เพียงจะช่วยให้คุณร่างกายแข็งแรง   แต่ยังช่วยให้คุณเล่าเรียนได้อย่างมีประสิทธิภาพในทางอ้อมอีกด้วย   คุณคงจำภาษิตที่ว่า  All  work  and  no  play  makes  Jack  a  dull  boy!  ได้
9.  การเริ่มต้น
        โปรดจำไว้ว่าคุณควรเริ่มต้นศึกษาหรือทบทวนบทเรียนที่ยากที่สุดเสียก่อน  แม้คุณจะรู้สึกเบื่อไม่สนใจ  และพูดได้เพียงว่า  ยากส์  ยากส์  ยากส์  ก็ตาม  คุณไม่ควรผัดวันประกันพรุ่งที่จะเริ่มต้นเอาชนะมัน  ความล่าช้าจะทำให้วิชานั้นยากสสสส์ยิ่งขึ้น แต่ถ้าคุณเริ่มทบทวน  ค้นคว้า  ให้ทัน  และทำอย่างสม่ำเสมอ  คุณจะพบว่าบทเรียนนั้นๆ  ไม่ได้ยากจริงอย่างที่คุณคิดไว้แต่ต้น
ค.       กิจกรรมต่างๆ
การนั่งที่โต๊ะเขียนหนังสือพร้อมกับดวงตา  (และบางครั้ง  -  หรือบ่อยครั้ง  -ดวงใจ  )  ที่เหม่อลอยออกนอกหน้าต่าง  หรือบางทีคุณอาจพลิกหน้าหนังสือกลับไปกลับมานั้น  ไม่นับว่าเป็นการเรียนหรือดูหนังสือ  ถ้าคุณตั้งใจดูหนังสือจริงๆ  เพียงครึ่งชั่วโมงอย่างมีสมาธิ  ผลลัพธ์จะคุ้มค่ากว่าการที่คุณนำหนังสือ  “มาเปิดดูผ่านๆ”  ไปเป็นเวลาสองชั่วโมง
คุณควรมีจุดหมายระยะสั้นที่แน่นอนในการศึกษาวิชาต่างๆ  คุณควรตัดสินใจว่าจะทำอะไรและทำให้ได้แค่ไหน  หลังจากนั้นทำสิ่งที่กำหนดไว้ให้สำเร็จ  ในตารางเวลาที่เตรียมไว้สำหรับแต่ละวิชา  คุณควรกำหนด  คุณควรจะทำอะไรบ้าง  เช่น
-            ทำการบ้าน
-           ทบทวนบทเรียน
-           เตรียมบทเรียนล่วงหน้า
หรือ  บางครั้งทำทั้งสามอย่างในเวลาเดียวกัน  (นั่นแน่  ขยันจัง  เด็กดี)
1.        การบ้าน    
       คุณควรทำการบ้านหรือแบบฝึกหัดที่ได้รับในชั้นเรียนให้เสร็จก่อนสิ่งอื่น  เพราะการบ้านหรือแบบฝึกหัดเหล่านั้นจะเป็นการ  ทดสอบ  กระตุ้นและทบทวนความรู้ของคุณ  การทำการบ้านไม่เสร็จ  หรือส่งไม่ทันกำหนด  เป็นเครื่องชี้ว่าคุณมีนิสัยในการเรียนที่ไร้ประสิทธิภาพ  คุณไม่ควรคิดแบบ  “ตัดช่องน้อยแต่พอตัว”  เพียงว่า  “เย็นนี้ฉันจะทำการบ้านสักหน่อย”  แต่คุณควรบอกตัวเองว่า  เป้าหมายที่ฉันจะต้องทำให้สำเร็จในเย็นวันนี้คือ  “ฉันจะแก้ปัญหาสี่ข้อในวิชาคณิตศาสตร์ซึ่งเป็นการบ้านของฉันในวันนี้” 
2.        ทบทวนบทเรียน
คุณควรทบทวนวิชาต่างๆ  ที่คุณได้เรียนในชั้นโดยการ  “เขียนเพิ่มเติม”  หรือทำความเข้าใจบันทึกคำบรรยายในชั้น  คุณอาจหาตัวอย่างหรือแนวคิดอื่นๆ  เพิ่มเติม  อ่านหนังสือที่เกี่ยวข้อง  สรุป  หรือพยายามจดจำคำบรรยายในวิชานั้นๆ   ให้ได้จุดมุ่งหมายเฉพาะที่คุณควรกำหนด  เช่น  เช่น  “  ฉันจะ.....”
ก.       อ่านหนังสือคำบรรยายในชั้นวันนี้  เกี่ยวกับภูมิศาสตร์ของมหาสมุทรแปซิฟิค
ข.       อ่านตำราเกี่ยวกับเนื้อหาดังกล่าวหนึ่งบท
ค.      สรุปเนื้อหาที่อ่าน
ง.       เขียนบทสรุปที่อ่านเพิ่มเติมลงในสมุดบันทึกคำบรรยายในชั้น
3.        เตรียมบทเรียนล่วงหน้า
การเตรียมบทเรียนล่วงหน้ามีวัตถุประสงค์หลายอย่างเช่น 
ก.       การเตรียมเพื่อการทดสอบ  (tests)  วัตถุประสงค์ที่ควรกำหนดเช่น   “ฉันจะ...”
(I)                 อ่านทบทวนบททดสอบครั้งล่าสุดที่ฉันทำในชั้นเกี่ยวกับ”ไฟฟ้า”  จนกว่า จะแน่ใจเข้าใจข้อที่ทำผิดพลาดว่าคำตอบที่ถูกต้องคืออะไร
(II)               อ่านบันทึกคำบรรยายในชั้นในหัวข้อที่เกี่ยวกับไฟฟ้า
(III)             ตรวจดูคำตอบในแบบฝึกหัดที่เกี่ยวกับไฟฟ้า
(IV)             ทำแบบฝึกหัดใหม่3ข้อเพื่อทดสอบตัวเอง
ข.        การเตรียมบทเรียนล่วงหน้าโดยทั่วไป  ได้แก่การอ่านตำราเกี่ยวกับหัวข้อที่จะใช้เรียนในคราวต่อไป  “การอ่านบทเรียนล่วงหน้า”  จะช่วยลดความสับสนเกี่ยวกับวิชาหรือหัวข้อใหม่ๆ  ที่ไม่คุ้นเคยจะสามารถช่วยให้คุณเข้าใจบทเรียนมากขึ้น  ถ้าคุณได้เตรียมอ่านมาก่อนล่วงหน้า  คุณอาจกำหนดวัตถุประสงค์เฉพาะว่า  “ฉัจะอ่านบทที่เกี่ยวกับ  “การย่อหน้า””  ในตำราเรียน  และอ่านบทที่เรียนกับ  “รูปแบบการเขียนเรียงความ”   ในหนังสืออ้างอิง
ขอยกตัวอย่างง่ายๆดังนี้  ถ้าคุณกำหนดเวลา  3  ชั่วโมง  เพื่อศึกษาหรือทบทวนในหนึ่งคืน
สรุป
-            สถานที่ที่คุณใช้อ่านหนังสือหรือทำการบ้าน  ควรเป็นที่ที่เงียบสงบ  และนั่งได้อย่างสะดวกสบาย
-           คุณควรเตรียมตารางเวลาการเรียนหรือทบทวนตำราตั้งแต่ต้นปี  และทำตามตารางที่กำหนดไว้อย่างสม่ำเสมอ
-           เลือกลงวิชาเรียนที่ยากง่ายด้วยความละเอียดรอบคอบ
-           คุณควรกำหนดวัตถุประสงค์การเรียนที่แน่นอนทั้งในระยะสั้นและยาว


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น